
เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร อย่างเช่น แกลบ ขุยมะพร้าว ซังข้าวโพด เศษปุ๋ยคอก และเศษวัสดุอื่นๆ ที่หลงเหลือจากการใช้งาน ส่วนมากจะถูกปล่อยทิ้งให้เป็นขยะ เน่าเหม็น ไร้มูลค่า ทั้งยังสร้างปัญหาให้สิ่งแวดล้อม ดังนั้นหากมีการนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้เหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์และเพิ่มมูลค่าคงจะดีไม่น้อยด้วยแนวคิดดังกล่าวจึงทำให้ นายจำรัส เกตุมณี ,นายปัญญา ลาไธสง และนายวิวัตร ศรีคำสุข นักศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหา วิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ร่วมกันคิดค้นเครื่องอัดขุยมะพร้าวอัตโนมัติ เพื่อแบ่งเบาภาระและส่งเสริมให้เกษตรกรที่มีเศษวัสดุเหลือใช้ ให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า โดยมีอาจารย์ชัยรัตน์ หงส์ทอง เป็นที่ปรึกษาโครงการ
ทั้งนี้นักศึกษาเจ้าของผลงาน เปิดเผยว่า เครื่องอัดขุยมะพร้าว ควบคุมด้วยระบบ PLC จุดประสงค์ที่คิดสร้าง เพราะต้องการสร้างมูลค่าเศษวัสดุที่เหลือทิ้งจากการเกษตรและลดขยะที่อาจส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม โดยเครื่องอัดขุยมะพร้าวอัตโนมัติจะทำการขัดเศษขุยมะพร้าวให้เป็นรูปทรงกระบอก ที่เกษตรกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ใช้ทำเป็นแท่งเมล็ดพันธุ์พืชกล้าไม้ และแท่งปุ๋ยสำหรับใส่ต้นไม้ ใช้เป็นแท่ง เพาะเมล็ด โดยไม่ต้องใช้ถุงดำ เนื่องจากแท่งวัสดุที่อัดได้มีความหนาแน่นพอที่จะไม่แตกออกจากกัน ทำให้รูปทรงกระบอกเหมือนถุงดำเพาะกล้วยไม้ เป็นการลดปริมาณของขยะที่ย่อยสลายยาก เช่น ถุงดำ และประหยัดต้นทุนในการซื้อถุงดำเพาะกล้าไม้อีกทางหนึ่ง
โดยการทำงาน เครื่องจะแยกการทำงานออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนลำเลียงวัตถุดิบ ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 24 โวลต์ ส่วนที่สองเป็นชุดอัดแท่งขุยมะพร้าว สำหรับอัดแท่งขุยมะพร้าวขนาด 150x200x140 มิลลิเมตร ทั้งนี้เมื่อทำการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานพบว่า เครื่องสามารถอัดแท่งวัตถุดิบมีอัตราเฉลี่ย 7.3 กรัม/ 1 คู่ ใช้เวลาเฉลี่ย 20 นาที
ส่วนสำหรับการผลิตแท่งอัดขุยมะพร้าวของเครื่องอัด ต่อการผสม 1 ครั้ง ซึ่งประกอบด้วยขุยมะ พร้าว 5 กิโลกรัม สารเหนียว 0.8 กิโลกรัม และน้ำดินเหนียว 6 กิโลกรัม สามารถผลิตแท่งขุยมะพร้าวได้ 20 ชิ้น มีอัตราการผลิต 360 แท่งต่อชั่วโมง ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดได้ที่ www.rmutt.ac.th
สุรีรัตน์ นพยอด
สถานีวิทยุกระจายเสียง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
http://radio895.rmutt.ac.th
ก.ย. 29th by 89-5MHZ
Continue Reading